วันเสาร์, 14 ธันวาคม 2567

ถ้ำช้างหาย อำเภอ นาโยง จังหวัดตรัง

ถ้ำช้างหาย อ. นาโยง จังหวัดตรัง  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความงดงามตามธรรมชาติอีกแห่งหนึ่ง
ของจังหวัดตรังซึ่งภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยที่น่าสนใจ อีกทั้งมีรูปลักษณะต่างๆ ซึ่งถ้ำนี้ มีไม่ค่อยมีในแพคเกจ ที่เราๆท่านๆ มาเที่ยวตรังจะได้ไปกัน ส่วนมากก็จะเป็นที่ ถ้ำเล เขากอบ แต่ที่นี่ยังคงความงดงาม อีกทั้งยัง เป็นถ้ำเป็นอยู่ครับ

ภายในถ้ำช้างหายนั้นมีลักษณะที่โดดเด่นหลายอย่างในถ้ำจะมีทวดไชหาญ
ซึ่งมีอายุราว 75 ปี ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวตำบลนาหมื่นศรีตามคำบอกเล่าผู้
ที่เข้าไปในถ้ำถ้าเอาหินไปเคาะที่ทวดไชยหาญจะมีความโชคดีและภายในถ้ำ
ช้างหายจะมีหลายถ้ำเช่น
ถ้ำทวดไชยหารเป็นบริเวณลานกว้างเมื่อก่อนมีการแสดงหนังตะลุงภายในถ้ำ
ประมาณ 42 ปีก่อนโดยใช้ตะเกียงพายุในการแสดง บริเวณถ้ำข้าง ๆ นั้นมีรอบเท้าช้างที่วิ่งเข้าไปแล้วหายไม่มีใครเจออีก
เล่าว่าช้างที่หายไปนั้นกลายเป็นธาตุหินบ้างกลายเป็นทองบ้าง

ถ้ำช้าง ที่ทราบมานั้นถ้ำช้างเป็นถ้ำที่ช้างวิ่งเข้าไปและก็ได้หายไปภายในถ้ำช้าง  ถ้ำช้างมีบริเวณที่แคบเป็นทางเดินบริเวณทางเดินมีหินย้อยที่สวยงาม และ
มีลวดลายที่สวยงามคลายแผ่นที่นั้นคล้ายตัวอักษรแต่ที่ได้ถ่ายรูปลวดลายนั้นส่งไปให้กรมศิลปากรแก้ลวดลายแต่ก็แก้ไม่ได้แต่ตามที่คำบอกเล่าจะดูเหมือน
ลายแทง

ถ้ำเพชร เป็นถ้ำที่แตกต่างไปจากถ้ำอื่น ๆ ถ้ำนี้จะมีทรายซึ่งก่อตัวจับกลุ่มกันเป็น ก้อนถ้ำเพชรนี้เมื่อถูกแสงสว่างจะมีแสงประกายกระทบกับแสงไฟจนทำให้เกิดแสงระยิบระยับเหมือนมีเพชรพลอยและอัญมณีต่าง ๆ อยู่ภายในถ้ำซึ่งถ้ำเพชรนี้มีบริเวณ
เป็นแอ่งน้ำอยู่และมีความเชื่อกันว่าเป็นแห่งน้ำที่ศักสิทธิ์
ถ้ำลอดเป็นถ้ำที่แคบเดินไม่ได้ต้องลอดเข้าไปซึ่งเป็นถ้ำที่ลึกลงไปมีน้ำไหลผ่านกล่าวกันว่าแหล่งน้ำข้างในถ้ำลอดนี้มีน้ำที่ใสและเย็นเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาน้ำจืดและเป็นที่วาง ไข่ของปลาในฤดูผสมพันธุ์

 

ประวัติถ้ำเขาช้างหาย
ตามประวัติความเป็นมาของถ้ำเขาช้างหงายนั้นซึ่งเป็นภูเขาที่
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติคือ จากประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าสืบต่อกัน
มานั้นสมัยก่อนที่เมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองทางด้าน
ศาสนาซึ่งเป็นที่สนใจของนักแสวงบุญที่จะเดินทางมาศึกษาธรรม
และได้มีนักแสวงบุญกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากทางตอนใต้ได้เดิน
มาเพื่อที่จะศึกษาธรรมโดยมีพาหนะซึ่งใช้ช้างในการเดิน
ทางและบรรทุกสิ่งของกล่าวกันว่าเดินทางมาถึงกลางทุ่งนาช้าง
ตัวหนึ่งก็ได้กำนิดลูกน้อยบริเวณหนองน้ำและปัจจุบัน
เรียกติดปากกันว่าหนองช้างทอก ซึ่งอยู่ในหมู่ที่5 และเดินทาง
มาเรื่อยๆจนมาหยุดพักผ่อนที่หนองน้ำที่ชื่อ
หนองถวาย ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเขาและลูกช้างได้เดินเล่น
ไปเรื่อยๆจนเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่งทำให้พวกนักแสวงบุญ
ตกใจจึงเข้าไปตามหาโดยใช้ด้ายขาวแดง 3 เส้นไปคล้องจับลูกช้าง
ออกมาและได้เดินทางกันต่อและสิ่งที่ไม่คาดคิอเกิดขึ้นเส้นด้าย
เกิดขาดทำให้ลูกช้างวิ่งกลับไปหาถ้ำนั้นอีกครั้ง ควานช้างซึ่ง
วิ่งไล่ตามไปทันและใช้มีดฟันช้าง ซึ่งโดนส่วนหางของมันและ
ส่วนที่ควานช้างฟันขาดนั้นกลับกลายเป็นทอง
แล้วลูกช้างก็วิ่งไปในถ้ำและหายจนไม่มีใครพบเห็นอีกเลย
กล่าวกันว่าช้างนั้นเป็นช้างทองจากนั้นก็ไม่มีใครสนใจ
ถ้ำแห่งนั้นและต่อจากนั้นมาได้มีการสำรวจเขาช้างหงายขึ้นโดย
นายประเสริฐ คงหมุนและนายบรรจบ คงอ่อน
ชาวบ้านหมู่ที่2 ตำบลนาหมื่นศรี และได้พบถ้ำ จำนวน6ถ้ำ คือ
ถ้ำช้างหงาย,ถ้ำเพกา,ถ้ำทรายทอง,ถ้ำโอง,ถ้ำลม,ถ้ำแม่เฒ่าคล้าย